ประวัติ

ตลาดน้ำอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมไทย ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและศึกษาเชิงอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาทั้งด้านการแต่งกายสถาปัตยกรรมที่งดงามและคงเอกลักษณ์ขนบธรรมเนียมประเพณี การละเล่น และแสดงพื้นบ้าน ของกินของใช้ในยุคเก่า วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทยๆ ที่เรียบง่าย

ตลาดน้ำอโยธยา เป็นจุดศูนย์รวมนัก ท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ และทัศนียภาพอันงดงามแบบไทยๆด้วยการเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อยๆ เรียบคลองยาว หรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้าที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม รอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กัน พร้อมกันนี้ก็ยังมีเรือบริการรับส่งไปยังท่าเรือภายในตลาดอีกด้วยเพื่อ สะท้อนถึงวิถีการ เดินทางในสมัยก่อน

จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งที่ตลาดน้ำอโยธยาได้นำมารวบรวมไว้ที่นี่ คือการนำชื่ออำเภอทั้งหมดของ จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาทั้งหมด มาตั้งเป็นชื่ออาคาร สถานที่ เพื่อให้ผู้ที่มาเยือนได้รู้จักสินค้าของแต่ละอำเภอ และสามารถจดจำชื่ออำเภอต่างๆของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เป็นอย่างดี
ปณิธาน ความตั้งใจเพื่อให้ตลาดน้ำอโยธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้ผู้ที่มาเยือนได้ศึกษาเรียน รู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย เห็นคุณค่าของศิลปะและ วัฒนธรรมของไทยแผ่นดินอันอบอุ่นของไทย ที่บรรพชนรุ่นก่อนได้ต่อสู้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้มีที่อยู่ที่อาศัยและ ควรรักษาๆไว้ให้ดีอีกนาน

วิถีไทยในอยุธยา

ในพระนครศรีอยุธยาเต็มไปด้วยวัดวาอาราม เพราะประชาการในกรุงศรีอยุธยาไม่ว่าจะเป็นชนชั้นสูงหรือชนชั้นต่ำ ล้วนมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถวาท ความมั่งคั่งที่ได้จากการค้าขายของกรุงศรีอยุธยามักหมดไปเพื่อสร้างวัด อันเป็นแหล่งรวมของศิลปะสถาปัตยกรรมฝีมือช่างหลวงและช่างชาวบ้าน

วิถีชีวิตของชาวบ้านส่วนมากอยู่เรือนไม้ไผ่ริมน้ำ ทำนาปลูกข้าวที่ต้องพึงพาธรรมชาติ จึงมีประเพณีพิธีกรรมเกี่ยวกับการเกษตรกรรมหลายอย่าง เช่น ขอฝน ทำขวัญข้าว แข่งเรือ ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีอาชีพทำงานหัตถกรรม เช่น ปั้นหม้อ ทอผ้า ทำเครื่องจักสาน แกะไม้ ถลุงเหล็กฯลฯประเพณีเหล่านี้ยังสืบเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังคงมีอยู่

ที่มา http://www.tourinthai.com

1 ความเห็น

1 thoughts on “ประวัติ

ใส่ความเห็น